Savetax thailand

ภูมิคุ้มกันกรมสรรพกร

 
  • หน้าหลัก
  • การวางแผนภาษี
  • รู้ทันสรรพากร
  • กรณีศึกษา
  • ภูมิคุ้มกันแต่ละสาขาอาชีพ
    • การขายสินค้าออนไลน์
    • หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าริมทาง
    • ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นต์ บ้านเช่า
    • การวางแผนภาษีของแพทย์
  • ติดต่อ
  • สมัครสมาชิก
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
Menu
  • หน้าหลัก
  • การวางแผนภาษี
  • รู้ทันสรรพากร
  • กรณีศึกษา
  • ภูมิคุ้มกันแต่ละสาขาอาชีพ
    • การขายสินค้าออนไลน์
    • หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าริมทาง
    • ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นต์ บ้านเช่า
    • การวางแผนภาษีของแพทย์
  • ติดต่อ
  • สมัครสมาชิก
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว

VAT ปัญหากวนใจของ Freelance

 

                มีกฎหมายภาษีอากรอยู่ข้อหนึ่ง ถ้ารายได้เกิน 1.8 ล้านคุณจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม บางคนบอกว่าเงินเดือนตัวเองรวมโบนัสก็เกินแล้วไม่เห็นต้องเข้าสู่ระบบ VAT เลย นั่นเพราะรายได้บางอย่างได้รับการยกเว้น และเงินเดือนที่คุณรับทุกเดือน ๆ ก็เป็นรายได้อีกประเภทที่ได้รับการยกเว้น

                มีหลายคนเลือกที่จะทำงานอิสระหรือ Freelance เพราะเบื่อกับการเป็นลูกจ้าง และที่สำคัญการเป็น Freelance คุณสามารถที่จะยื่นภาษีแบบวิชาชีพอิสระหรืองานรับเหมา จะทำให้เสียภาษีน้อยลงด้วย นั่นจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนเลือกที่จะมาเป็น Freelance แต่อย่างไรก็ดียังมีกับดักหนึ่งที่รอบรรดาคนที่ทำงานเป็น Freelance อยู่คือเรื่อง VAT หลายคนไม่รู้ว่าถ้ารายได้ถึง 1.8 ล้านเมื่อไหร่คุณจะต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทันที หรือบางคนรู้แต่รับเงินมาเรื่อย ๆ ไม่เคยนับ จนเมื่อมีจดหมายจากสรรพากรมาถึงก็เพิ่งจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น

                เรื่อง VAT นี้ถ้าคุณต้องเข้าระบบ VAT แต่คุณยังไม่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบ จะมีโทษคือต้องเสียค่าปรับ 2 เท่าของมูลค่า VAT ที่คุณต้องจ่าย เช่น ถ้าคุณมีรายได้ 100 บาท นั่นคือมี VAT 7 บาท แต่หากคุณไม่เข้าสู่ระบบ VAT ทั้งที่คุณต้องเข้าสู่ระบบ เมื่อสรรพากรมาเยือนคุณจะต้องจ่าย 7 บาทค่า VAT และจ่ายอีก 7×2 = 14 บาท เป็นค่าปรับ รวมเป็น 21 บาท นั่นคือเรื่องที่น่ากลัวของ VAT

                เทคนิคการรีดภาษีกับ VAT ของสรรพากรจากที่ผมได้พบมาคือ ถ้าพบว่าใครต้องเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสรรพากรจะไม่แจ้งให้ทราบทันที แต่จะให้คุณทำงานหาเงินต่อไปก่อน อาจจะทิ้งไว้นาน ๆ เป็นปี เพื่อให้มูลค่าของ VAT และค่าปรับสุกงอมจนได้ที่จากนั้นจะมีจดหมายมาเรียกคุณเข้าไปคุยเพื่อให้ชำระภาษีที่ค้างพร้อมค่าปรับ เมื่อนั้นล่ะครับอ่วมเลย แต่หากเจอสถานการณ์อย่างนี้มีทางออกครับไม่ต้องกลัว ลองดูเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้เผื่อเป็นเทคนิคในการแก้ปัญหาหากคุณเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว

                มีผู้เดือดร้อนคนหนึ่งได้ติดต่อผมมาว่าได้รับจดหมายเรียกจากสรรพากร เธอเป็น Freelance เป็นงานประเภทรับเหมา ทุกงานที่ได้เงินจะถูกหักภาษี 3% ตลอด เธอเข้าใจว่าเมื่อถูกหักแล้วก็ไม่ต้องยื่นภาษี ถามว่าจริงไหมมันก็จริงน่ะครับ เพราะรายได้รับเหมาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 70% ถ้าคำนวณภาษีออกมายังไงก็ไม่ถึง 3% ของรายได้

                เธอได้รับจดหมายในเดือน พ.ค. 2557 ว่าสรรพากรเรียกพบ ด้วยความที่ไม่มีความรู้เรื่องภาษีอากรจึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากผม ผมจึงเข้าไปพบสรรพากรแทนเธอเพื่อรับทราบปัญหาและหากทางออกของปัญหา เป็นไปตามคาดครับ ในปี 2555 เธอมีรายได้ 1.83 ล้าน ทำให้ต้องเข้าสู่ระบบ VAT และในปี 2556 เธอมีรายได้ประมาณ 1.75 ล้าน ส่วนปี 2557 ในช่วงต้นปีมีรายได้เกือบล้าน นั่นคือรายได้ในปี 2556 ทั้งหมดและในช่วงปี 2557 เธอจะต้องเสีย VAT และโดนค่าปรับ VAT อีก 2 เท่า

                ครั้งนี้เธอถูกสรรพากรประเมินว่าต้องจ่ายภาษีและค่าปรับอีกทั้งดอกเบี้ยรวมกันประมาณห้าแสนห้าหมื่นบาท แน่นอนว่างานรับเหมาถึงจะมีรายได้เกือบสองล้านบาท แต่กำไรก็ประมาณ 20-30% แน่นอนคงไม่สามารถจ่ายภาษีได้สูงขนาดนั้น

                ผมลองวิเคราะห์ปัญหาดู สิ่งแรกกรณีนี้รายได้ทุกครั้งมีการหัก ณ.ที่จ่าย 3% และนำส่งสรรพากร ดังนั้นเมื่อปี 2555 ที่บอกว่ารายได้เกิน 1.8 ล้าน สรรพากรควรจะเห็นข้อมูลตั้งแต่วันนั้นแล้วเหตุใดจึงต้องปล่อยเวลาล่วงเลยมาตั้งปีครึ่ง และเหตุผลที่ความเสียหายของเราสูงขนาดนี้ก็เพราะสรรพากรเอง แทนที่จะแจ้งให้ทราบแต่เนิ่น ๆ กลับปล่อยมานานขนาดนี้ ผมจึงท้าขอให้สรรพากรช่วยประเมินมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะจะได้เห็นว่าสรรพากรได้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่และทำให้เราได้รับความเสียหาย ซึ่งโทษฐานของการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบมีโทษถึงจำคุก แน่นอนครับเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ

                ผมจึงสรุปว่าถ้าอย่างนั้นผมจะยื่น ภ.ง.ด. ย้อนหลัง โดยรายได้ 1.84 ล้านนี้ ผมจะยื่นเป็นรับเหมา 1.79 ล้าน และยื่นเป็นค่าจ้างอีก 5 หมื่นบาท ซึ่งก็จะหลุดจาก VAT ทันที ส่วนภาษีเงินได้ที่ต้องเสียนั้นได้ถูกหัก 3% ไปเรียบร้อยแล้ว และครอบคลุมภาษีที่ต้องเสีย (เพราะเงินได้ประเภท 40(7) เสียภาษีเงินได้น้อยมาก) ดังนั้นไม่มีอะไรต้องจ่ายเพิ่มนอกจากค่าปรับที่ยื่น ภ.ง.ด. ช้าจำนวน 400 บาท (ภ.ง.ด. 90 และ 94 ใบละ 200 บาท)

                แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ไม่ยอมนะครับ มีผู้ใหญ่โทรมาหาบอกว่ายื่นอย่างนี้ไม่ได้ ต้องเข้า VAT ด้วย ผมบอกว่าถ้าอย่างนั้นช่วยประเมินมาก่อน แล้วช่วยชี้แจงด้วยว่าที่ช้าไปตั้งปีครึ่งนี่เพราะอะไร ความเสียหายที่เกิดจากความล่าข้าของสรรพากรนี้เราจะได้ร้องเรียนได้ถูกว่าใครจะต้องรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ก็เงียบไปครับแล้วจบเรื่อง เพราะผมอ้างกฎหมายว่ากรณีนี้เข้าข่ายเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก และที่สำคัญเราได้รับความเสียหายจากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ และจะร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                จากกรณีนี้ได้บทเรียนคือหากมีปัญหากับสรรพากร อย่าคิดหาทางออกโดยมองแต่ปัญหาเรื่องภาษีอาการ อย่าหาทางออกแบบพายเรือในอ่างน้ำ แต่ให้คิดนอกกรอบ เช่น กรณีนี้เราอาจจะบ่นว่าแล้วทำไมสรรพากรเพิ่งมาบอกไม่อย่างนั้นคงไม่เสียหายขนาดนี้ และส่วนใหญ่เราก็ไม่ค่อยจะคิดว่าในเมื่อเจ้าหน้าที่ทำผิดจะเล่นงานเจ้าหน้าที่อย่างไร แต่หากเราคิดนอกกรอบเราก็บอกว่าในเมื่อสรรพากรจงใจล่าช้าเพื่อให้เราเสียหาย เราก็ถือว่าสรรพากรทำผิดและดำเนินคดีตามกฎหมายได้ หรือไม่ก็เอาความผิดนี้มาต่อรองกลับ จะทำให้เรามีอำนาจต่อรองในการเจรจาและสามารถหาทางออกได้โดยง่าย นี่เป็นหลักการที่เรียกว่า “การแก้ปัญหาภาษีอากรแบบเชิงรุก” คือพยายามมองหาความผิดของเจ้าหน้าที่และเล่นงานกลับ แทนที่จะตั้งรับฝ่ายเดียว

 

Recent Posts

  • savetaxthailand

Pages

  • User Privacy
  • VAT ปัญหากวนใจของ Freelance
  • กรณีศึกษา
  • การขายสินค้าออนไลน์
  • การวางแผนภาษี
  • การวางแผนภาษีของแพทย์
  • การวางแผนภาษีสำหรับคนทำงานกินเงินเดือน
  • การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • การวางแผนรับมือสรรพากรสำหรับธุรกิจออนไลน์
  • การแก้ปัญหาภาษีอาการแบบเชิงรุก
  • ข้อผิดพลาดเมื่อเผชิญหน้ากับสรรพากร
  • ขาย RMF ก่อนอายุ 55 ต้องทำอย่างไร
  • ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสรรพากร
  • คำนำจากผู้เขียน
  • ติดต่อ
  • ถูกสรรพากรหลอก
  • ธุรกิจหอพัก อพาร์ทเม้นต์ บ้านเช่า
  • ผ่อนบ้านให้คุ้มเรื่องภาษี
  • ภาษีย้อนหลัง
  • ภูมิคุ้มกันสรรพากร
  • ภูมิคุ้มกันแต่ละสาขาอาชีพ
  • มนุษย์เงินเดือนก็ต้องวางแผนภาษี
  • รู้ทันสรรพากร
  • วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
  • ส่งท้าย
  • ส่งมอบรายการเดินบัญชีไปแล้วจะทำอย่างไร
  • สมัครสมาชิก
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
  • สรรพากรข่มขู่ผู้เสียภาษีอย่างไร
  • สำนักงานบัญชี
  • สู้กับสรรพากร อยู่ที่ใจ
  • หน้าหลัก
  • หาบเร่ แผงลอย ร้านค้าริมทาง
  • อย่าแก้ปัญหาด้วยวิธีการผิด ๆ
  • เทคนิคการปฏิเสธเมื่อสรรพากรขอดูการเดินบัญชี
  • เทคนิคการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต
  • เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเผชิญหน้าสรรพากร (2)
  • เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเผชิญหน้าสรรพากร
  • เมื่อสรรพากรมาเยือน จะรับมืออย่างไร
  • ใช้งานสรรพากรกลับ

Tag Cloud

Categories

  • Uncategorized
 

เว็บไซต์นี้เหมาะกับ

• ผู้ที่กำลังมีปัญหาภาษีอากร
• ผู้ที่กำลังมีปัญหากับเจ้าหน้าที่สรรพากร
• ผู้มีสัมมาชีพที่ต้องการวางแผนภาษีอากร

บริการ

• รับปรึกษาปัญหาภาษีอากร
• เป็นตัวแทนในการเจรจากับสรรพากร

ข่าวสารล่าสุด

Login

Copyright © 2013 savetaxthailandTheme created by PWT. Powered by WordPress.org