ผ่อนบ้านให้คุ้มเรื่องภาษี

                รัฐบาลอนุญาตให้นำเอาดอกเบี้ยจากการกู้เงินซื้อบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ จากในอดีตอนุญาตให้ลดหย่อนได้แค่ 10,000 บาท ซึ่งก็จะใช้สิทธิ์กันเต็มที่ แต่ปัจจุบันยอมให้ใช้สิทธิ์นี้ได้ถึง 100,000 บาท สำหรับผู้ที่เสียดอกเบี้ยสูง ๆ เช่นปีละสองแสนบาท ยังไงก็ใช้สิทธิ์เต็มที่อยู่แล้ว แต่หากเสียดอกเบี้ยไม่สูงมาก เช่น ปีละห้าหมื่นบาท ก็ใช้สิทธิ์ไม่เต็มที่ แต่ในกรณีผู้ที่จ่ายดอกเบี้ยใกล้เคียงหนึ่งแสนบาท คือประมาณ 100,000 บวกลบเล็กน้อย ผมมีข้อแนะนำให้ตามที่จะเล่าต่อไปครับ

                โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบตัดบัญชีอัตโนมัติ และให้ระบบของธนาคารคำนวณดอกเบี้ยให้ โดยที่ไม่เคยสนใจว่าจะคำนวณผิดหรือถูก ก่อนอื่นผมขออธิบายวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของธนาคารก่อนนะครับ สมมติเรากู้เงินธนาคารโดยมีเงื่อนไขตามนี้ครับ

  • เริ่มกู้เงินวันที่ 15/11/2556 จำนวนเงิน 1.9 ล้าน อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี และชำระเงินภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยชำระอย่างต่ำเดือนละ 20,000 บาท
วันที่จ่ายค่างวดรายเดือน จำนวนวัน

ชำระหนี้

ดอกเบี้ย

ชำระเงินต้น

ยอดหนี้คงเหลือ

อัตราดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยสะสมตลอดปี

15/11/2556

 

 

 

 

1,900,000.00

5.00

 

15/12/2556

30

20,000.00

7,808.22

12,191.78

1,887,808.22

5.00

7,808.22

15/01/2557

31

20,000.00

8,016.72

11,983.28

1,875,824.94

5.00

15,824.94

15/02/2557

31

20,000.00

7,965.83

12,034.17

1,863,790.77

5.00

23,790.77

15/03/2557

28

20,000.00

7,148.79

12,851.21

1,850,939.56

5.00

30,939.56

15/04/2557

31

20,000.00

7,860.15

12,139.85

1,838,799.71

5.00

38,799.71

15/05/2557

30

20,000.00

7,556.71

12,443.29

1,826,356.42

5.00

46,356.42

15/06/2557

31

20,000.00

7,755.76

12,244.24

1,814,112.18

5.00

54,112.18

15/07/2557

30

20,000.00

7,455.26

12,544.74

1,801,567.44

5.00

61,567.44

15/08/2557

31

20,000.00

7,650.49

12,349.51

1,789,217.93

5.00

69,217.93

15/09/2557

31

20,000.00

7,598.05

12,401.95

1,776,815.98

5.00

76,815.98

15/10/2557

30

20,000.00

7,301.98

12,698.02

1,764,117.96

5.00

84,117.96

15/11/2557

31

20,000.00

7,491.46

12,508.54

1,751,609.42

5.00

91,609.42

15/12/2557

30

20,000.00

7,198.39

12,801.61

1,738,807.82

5.00

98,807.82

               

 

                จากตารางตามรูป เราเริ่มชำระค่างวดครั้งแรกคือวันที่ 15/12/2556 จำนวนเงิน 20,000 บาท ในวันนั้นมีดอกเบี้ย 7,808.22 โดยอัตราดอกเบี้ยธนาคารจะคำนวณเป็นรายวันมีวิธีการคำนวณตามนี้ครับ

                ดอกเบี้ย  = มูลค่าเงินกู้คงเหลือ x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันเทียบกับการชำระเงินล่าสุด /365

               

                จากกรณีตัวอย่าง การชำระเงินกู้ในวันที่ 15/12/2556 นี้จะเว้นระยะห่างมา 30 วัน (กรณีชำระครั้งแรกวัดจากวันที่ได้รับเงินกู้) โดยมีมูลค่าเงินกู้ 1.9 ล้าน อัตราดอกเบี้ย 5% ดังนั้น

                ดังนั้นดอกเบี้ยในวันที่ 15/12/2556 มีมูลค่าเท่ากับ 1,900,000 x 5% x 30 /365 = 7,808.22 นั่นคือเมื่อชำระเงิน 20,000 บาท เงินจำนวน 7,808.22 ก็จะถูกดึงไปชำระดอกเบี้ย ส่วนที่เหลือจะไปลดเงินต้นนั่นเอง

 

                จากตารางดังกล่าว ผู้กู้ชำระเงินทุก ๆ วันที่ 15 ของเดือน ก็จะได้ดอกเบี้ยสะสมตามรูป และการชำระครั้งสุดท้ายในวันที่ 15/12/2557 ก็จะมีดอกเบี้ยสะสมทั้งปีอยู่ที่  98,807.82 ยังต้องการสิทธิ์ลดหย่อนอยู่อีก 100,000 – 98,807.82 = 1,192.18 บาท สิ่งที่ทำได้คือการโยกเอาสิทธิ์ของปีหน้าในจำนวนเงินเท่านี้มาใช้ในปีนี้

                ขั้นตอนคือในขั้นแรกจำคำนวณก่อนว่าการชำระเงินกู้ในแต่ละวันของปี 2557 นี้จะเกิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ ตามรูป

วันที่ จำนวนวัน

อัตราดอกเบี้ย

มูลค่าดอกเบี้ย

16/12/2557

1

5.00

238.19

17/12/2557

2

5.00

476.39

18/12/2557

3

5.00

714.58

19/12/2557

4

5.00

952.77

20/12/2557

5

5.00

1,190.96

21/12/2557

6

5.00

1,429.16

22/12/2557

7

5.00

1,667.35

23/12/2557

8

5.00

1,905.54

24/12/2557

9

5.00

2,143.74

25/12/2557

10

5.00

2,381.93

26/12/2557

11

5.00

2,620.12

27/12/2557

12

5.00

2,858.31

28/12/2557

13

5.00

3,096.51

29/12/2557

14

5.00

3,334.70

30/12/2557

15

5.00

3,572.89

31/12/2557

16

5.00

3,811.09

 

                เมื่อเราชำระหนี้ในวันที่ 15/12/2557 เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ลองดูว่าถ้าเราชำระหนี้ในวันไหนจะเกิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ จากตารางหากเราชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 21/12/2557 เป็นต้นไป มูลค่าดอกเบี้ยก็จะครอบคลุมจำนวนเงิน 1,192.18 ตามที่เราต้องการ แน่นอนเราคงจะหาตัวเลข 1,192.18 ในตารางนี้ไม่มี แต่ก็มีวิธีการแก้ไขนั่นคือการแยกชำระเงินกู้

                การแยกชำระเงินกู้นั่นคือในเมื่อข้อตกลงสัญญาเงินกู้ ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือนเราต้องชำระเงินกู้ 20,000 บาท แต่ไม่มีกฎว่าเราต้องชำระครั้งเดียว อย่างกรณีนี้วิธีแก้ปัญหาก็คือ ในวันที่ 21/12/2557 – 31/12/2557 ให้เรารีบชำระเงินกู้ก่อนจำนวน 1,192.18 ซึ่งเราก็จะได้ดอกเบี้ยมาลดหย่อนจำนวนดังกล่าว ทำให้ปี 2557 เราได้สิทธิ์ลดหย่อนจำนวน 100,000 บาทพอดี หลังจากนั้นภายในวันที่ 1/1/2558 – 15/1/2558 เราก็ชำระเงินกู้ในส่วนที่เหลือ คือ (20,000 – 1,192.18) = 18,807.82 ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้เพราะเราชำระครบ 20,000 เพียงแต่เราชำระ 2 ครั้ง และเราได้สิทธิ์ลดหย่อน 100,000 บาทเต็ม ๆ ในปี 2557

                วิธีการวางแผนการชำระเงินให้คุ้มเรื่องภาษีนี้ อย่างน้อยจะต้อง

  • ไม่ใช้บริการตัดเงินอัตโนมัติ แต่ใช้วิธีการชำระเอง เพื่อที่จะได้วางแผนเรื่องวันที่ได้ด้วยตัวเอง
  • การเลือกวันครบกำหนดชำระในแต่ละเดือน หรือ Due Date ต้องไม่ใช่ปลายเดือน เช่น เงื่อนไขว่าต้องชำระ 20,000 บาททุกเดือน แบบนี้จะวางแผนภาษีไม่ได้ ให้เลือกเงื่อนไขกลางเดือน เช่น ชำระภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน เป็นต้น

                จากตัวอย่างเป็นการวางแผนการชำระเงินกู้เพื่อให้คุ้มค่าเรื่องภาษีมากที่สุด และในการกู้เงินจริง ๆ อาจมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่านี้ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือการวางแผนภาษีโดยดูจากรายได้ในปีนั้น ๆ เพื่อให้สามารถวางแผนการชำระเงินกู้ได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย