ขาย RMF ก่อนอายุ 55 ต้องทำอย่างไร
กองทุน RMF เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ข้อเสียของ RMF คือต้องถือยาวถึงอายุ 55 ปี บางคนคิดว่ามันทำให้เงินจม หากในอนาคตชีวิตเปลี่ยนแปลง เช่น อยากซื้อบ้าน หรือต้องการเงินมาลงทุนทำธุรกิจ เงินส่วนนี้จะเอาออกมาไม่ได้
อย่างไรก็ดีส่วนตัวผมก็สนับสนุนให้ซื้อ RMF เป็นอีกทางเลือกสำหรับการลดหย่อนภาษีนะครับ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ร้อนเงินจริง ๆ คุณก็ถอนออกมาได้เงินเท่าเดิม (ไม่พิจารณาเรื่องความเสี่ยงในการลงทุนนะครับ) คืนภาษีที่เคยลดหย่อนไป ไม่เหมือนการซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ระยะยาวหรือการซื้อประกันแบบบำนาญ ซึ่งหากถอนก่อนกำหนดเงินเหลือนิดเดียว
แต่หากต้องการขาย RMF ก่อนอายุ 55 จะทำอย่างไร เรื่องนี้มีเทคนิคซึ่งเป็นช่องว่างทางกฎหมาย นั่นคือข้อจำกัดในการเรียกคืนภาษีย้อนหลังของสรรพากร โดยเจ้าหน้าที่ทั่วไปสามารถเรียกภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี แต่หากจะขยายเป็น 5 ปีก็ต้องขออนุญาตจากอธิบดี ดังนั้นหากคุณลดหย่อนภาษีด้วย RMF แล้ว หากไม่ต้องการถือกองทุนถึงอายุ 55 ให้คุณจ่ายเลี้ยงกองทุนไปเรื่อย ๆ 5 ปี โดยอาจซื้อขั้นต่ำปีละ 5,000 บาท จากนั้นขายคืนทั้งหมด สรรพากรจะเรียกย้อนหลังภาษีได้แค่ 5 ปีสุดท้ายคือช่วงที่คุณจ่ายปีละ 5,000 บาท แต่เงินก้อนใหญ่ที่เคยลดหย่อนนั้นสรรพากรเอื้อมไม่ถึงแล้ว ตามตารางข้างล่างนี้ครับ
ปีที่ |
ซื้อกองทุน |
อัตราภาษี 20% ลดหย่อน |
1 |
100,000 |
20,000 |
2 |
100,000 |
20,000 |
3 |
100,000 |
20,000 |
4 |
100,000 |
20,000 |
5 |
100,000 |
20,000 |
6 |
5,000 |
1,000 |
7 |
5,000 |
1,000 |
8 |
5,000 |
1,000 |
9 |
5,000 |
1,000 |
10 |
5,000 |
1,000 |
จากตารางดังกล่าว เมื่อคุณขาย RMF หลังสิ้นปีที่ 10 คุณต้องคืนภาษีย้อนหลัง แต่เนื่องจากภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี ดังนั้นส่วนที่ต้องคืนคือปีละ 1,000 บาท 5 ปีสุดท้าย แต่เงินก้อนใหญ่ปีละ 20,000 นั้นเกิน 5 ปีแล้ว สรรพากรเอื้อมไม่ถึงแล้ว
อย่างไรก็ดีการจะเอาภาษีคืน 5 ปีต้องขออนุญาตจากกรมอธิบดี ถ้าเจ้าหน้าที่มาเรียกภาษีคืนจะย้อนหลังได้แค่ 2 ปี ดังนั้นถ้าคุณจะลองเสี่ยงจ่ายปีละ 5,000 แค่ 2 ปีก็ย่อมได้ครับ เพราะหากในการเจรจาเจ้าหน้าที่จะย้อนหลังเกิน 2 ปีโดยยังมิได้รับการอนุญาตจากอธิบดี ก็ถือว่าเจ้าหน้าที่มีความผิดเนื่องจากประพฤติเกินกว่าขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตัวเอง คุณเล่นงานกลับได้เหมือนกัน